การผลิตถ่านในประเทศไทย
น่าเสียดายสักนิดที่จะต้องบอกว่า
บันทึกถึงเรื่องราวของถ่านและการผลิตในประเทศไทยนั้น แทบจะไม่มีเอกสารใดให้อ้างอิงได้เลย
(คงรังเกียจในความดำและไร้ค่าของถ่าน จึงไม่มีใครอยากบันทึกไว้เลย)
ทั้งที่ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจและเรียนรู้ถึงการใช้ทรัพยากรของพวกเราได้
แต่เก่าก่อนมาแล้ว
เชื่อว่าประเทศไทยเป็นภูมิภาค
ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ และการตัดฟืนเพื่อการเผา
ถ่านของผู้คนก็ถือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
เหมือนๆกับสังคมเกษตรกรรมทุกแห่งบนโลก
การเผาผลิตถ่านของคนไทย
เป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่สามารถทำได้ในระดับชาวบ้านทั่วไป ดั้งเดิมนั้น
ชาวบ้านใช้เทคนิคการขุดหลุมบนพื้นดินราบ และก่อตัวเตาขึ้นจากดินเหนียว
หรือใช้วัสดุเหลืออื่นๆ เช่น เศษใบไม้ กิ่งไม้ ฟางข้าว แกลบ เป็นวัสดุกลบทับกองฟืนบนหลุมเผาถ่าน
จึงจุดไฟเพื่อทำการเผาไม้ให้เป็นกลายเป็นถ่าน ลักษณะเช่นนี้ เรียกกันทั่วไปว่า
เตาหลุม หรือ เตาดินกลบ แกลบกลบ ถึงแม้การเผาถ่านลักษณะนี้จะมีต้นทุนต่ำมาก
แต่ประสิทธิภาพและผลผลิตก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยไม้ฟืนเข้าเตา 100 กิโลกรัม
ชาวบ้านจะเก็บผลผลิตถ่านไม้ได้เพียงไม่เกิน 15-20 กิโลกรัมเท่านั้น
ปัจจุบันการเผาถ่านเช่นนี้
ยังเป็นกระบวนการผลิตระดับท้องถิ่นที่มีปรากฏทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม
คุณภาพผลผลิตถ่านไม้จากการผลิตดั้งเดิมเช่นนี้ ยังมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากลักษณะของตัวเตาเผาและเทคนิคการผลิตบางอย่าง
ซึ่งอาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อกระบวนการคาร์บอไนเซชั่นที่สมบูรณ์แบบ เช่น
ในบางครั้งชาวบ้านอาจจะใช้น้ำเข้ามาช่วยในการลดอุณหภูมิถ่านในเตา ทำให้ผลผลิตมีความชื้นสูง และไม่เหมาะหากจะนำมาใช้งาน
เป็นต้น
........
ชาวญี่ปุ่น
เป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยการบันทึก เขามีพิพิธภัณฑ์ถ่าน
(Charcoal Museam) และบันทึกของเขาสามารถแจงแจงความผิดพลาดใดๆ เพื่อการศึกษาและปรับปรุงมันให้ดีขึ้น
เขากินอาหารปิ้งย่างเป็นล่ำสัน เขาใช้ถ่านมหาศาล แต่พื้นที่ป่าไม้ของญี่ปุ่น
ยังคงเหลือมากมายเป็นอันดับต้นของโลก ....เขาทำได้อย่างไร?
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องถามตัวเองว่า
"แล้วเราจะทำเช่นนั้น
ได้อย่างไร?"
|